การบำรุงรักษาเครื่องจักรกลในอุตสาหกรรม

          การบำรุงรักษาเครื่องจักรกลในอุตสาหกรรม

ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ นำเอาเทคโนโลยีเครื่องจักรและอุปกรณ์มาใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อใช้งานเครื่องจักรให้เกิดประสิทธิภาพ จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการบำรุงรักษาเครื่่องจักร แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้

1. การบำรุงรักษาหลังเกิดเหตุขัดข้อง (Breakdown Maintenance)

เป็นการบำรุงรักษาเมื่อเครื่องจักรเกิดการชำรุดและหยุดการทำงานสามารถเกิดเหตุขัดข้องกับเครื่องจักรได้ตลอดเวลา แม้ว่าจะมีการบำรุงรักษาที่ดีก็ตาม

2. การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM)

เป็นการบำรุงรักษาเพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของการเกิดเหตุขัดข้อง ในเครื่ิองจักร เราต้องเช็คทำความสะอาดเครื่องจักร เช็คน้ำมันหล่อลื่น รวมถึงการบำรุงและเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่ตามระยะเวลาที่กำหนด

3. การบำรุงรักษาเชิงแก้ไขปรับปรุง (Corrective Maintenance)

เป็นการดัดแปลง ปรับปรุงชิ้นส่วนของเครื่องจักร เพื่อขจัดเหตุขัดข้องของเครื่องจักรให้หมดไป
4. การป้องกันเพื่อบำรุงรักษา (Maintenance Prevention)

เป็นการดำเนินการ เพื่อการบำรุงรักษาให้น้อยที่สุด โดยอาศัยการออกแบบเครื่องจักรให้มีความแข็งแรง ทนทาน บำรุงรักษาได้ง่าย รวมถึงเลือกซื้อเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพด้วย

5. การบำรุงรักษาทวีผล (Productive Maintenance)

เป็นการบำรุงรักษาที่นำเอาการบำรุงรักษา ข้างต้นมาประกอบเข้าด้วยกัน เพื่อส่งเสริมการผลิตให้เกิดผลสูงสุด

6. การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม(Total Productive Maintenance: TPM)

เป็นการบำรุงรักษาของทุกคน ทั้งพนักงานปฏิบัติการในสายการผลิต (Operators) และพนักงานฝ่ายซ่อมบำรุง (Maintenance group) ซึ่งจะรับผิดชอบในการบำรุงรักษาอุปกรณ์และเครื่องจักรร่วมกัน

การบำรุงรักษานั้นต้องมีการวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรวัตถุประสงค์ของการบำรุงรักษา เพื่อให้สามารถใช้งานได้ตามแผนที่วางไว้ รวมถึงการบำรุงรักษาเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งานเครื่องจักรอีกด้วย